เป้าหมายของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

เป้าหมายที่ 1

สร้างวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่มีความเป็นเลิศทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติด้วยหลักสูตรที่สมัยรวมทั้งมุ่งเน้นให้มีประสบการณ์ในการทำงานจริงจากสถานประกอบการ

เป้าหมายที่ 2

มุ่งเน้นในด้านงานวิจัยและการประยุกต์ใช้ในทั้งระดับประเทศและระดับโลก

หลักสูตรที่เปิดสอน

ปัจจุบันภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เปิดสอนระดับปริญญาตรี วุฒิวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) ใช้ระยะเวลาเรียน 4 ปี เรียนตอมแผน และสามารถเรียนจบได้ภายใน 3 ปี กรณีเทียบโอนรายวิชา เทียบโอนหน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา เป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับ ปวช. สายช่างอุตสาหกรรม ม.6 หรือเทียบเท่าและระดับ ปวส-เทคนิคคอมพิวเตอร์, อิเลคทรอนิกส์ ซึ่งสามารถเทียบโอนรายวิชาได้ และมีความสนใจด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย และประมวลผลสัญญาณ

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

จำนวน

143

หน่วยกิต

คุณสมบัติและความสามารถของผู้สำเร็จการศึกษา

ปรัชญา ปณิธาน เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ปีงบประมาณ 2563

ปรัชญา (Philosophy)

นวัตกรรมสร้างชาติ ราชมงคลธัญบุรีสร้างนวัตกรรม

ปณิธาน (Determination)

มุ่งมั่นจัดการศึกษาและวิจัย ผลิตนวัตกรและนวัตกรรมที่ทรงคุณค่าต่อเศรษกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์ (Vision)

มหาวิทยาลัยนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าสู่สังคมและประเทศ

เอกลักษณ์ (Uniqueness)

มหาวิทยาลัยนักปฏิบัติ พัฒนานวัตกร และสร้างสรรค์นวัตกรรม

อัตลักษณ์ (Identity)

นักปฏิบัติ นักคิด นักสร้างสรรค์นวัตกรรม

พันธกิจ (Mission)

1. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีความสามารถทางวิชาการ วิชาชีพ คิดสร้างสรรค์และเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรม สู่การนำไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม สังคม ชุมชน หรือสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์
3. ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในพื้นที่เป้าหมายหรือภาคประกอบการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4. ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. บริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

โครงสร้างพื้นฐานห้องเรียน

ห้องเรียน เครื่องมือและอุปกรณ์ในการเรียน

ห้องทฤษฎี

มีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โปรเจ็คเตอร์ ไมโครโฟน เครื่องขยายเสียง เครื่องปรับอากาศ กระดานเขียน เป็นต้น

ห้องปฏิบัติการ

มีห้องประลองฝีมือทางด้านฮาร์ดแวร์ที่มีอุปกรณ์ครบครัน เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับประลองทางด้านซอฟต์แวร์ไม่ต่ำกว่า 150 ชุด

ห้องโครงงาน

มีอุปกรณ์ เครื่องมือช่างพื้นฐาน และบอร์ดวงจรต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้ทดลองพัฒนาต่อยอดความรู้

ห้องประชุม

โต๊ะประชุมรองรับได้ 10-15 คน นักศึกษาสามารถใช้ห้องประชุมเพื่อพูดคุยงานกลุ่มและทำกิจกรรมได้
  • ห้องทฤษฎี

    สำหรับห้องฟังบรรยายมีจำนวน 4 ห้อง รองรับนักศึกษาต่อห้องได้ 30-50 คน มีเครื่องฉายภาพที่คมชัด จอกว้าง มีเครื่องปรับอากาศเพียงพอต่อความจุห้อง

    P1000290
    P1000352
    P1000348
    P1000353
  • ห้องปฏิบัติ

    สำหรับห้องเรียนปฏิบัติมีจำนวน 5 ห้อง มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้อง Internet of Thing ห้องปฏิบัติการดิจิตอล ห้องซอฟต์แวร์ ห้องเน็ตเวิร์ค รองรับนักศึกษาต่อห้องได้ 30-50 คน มีเครื่องฉายภาพที่คมชัด จอกว้าง มีเครื่องปรับอากาศเพียงพอต่อความจุห้อง

    P1000294
    P1000295
    P1000296
    P1000297
    P1000298
    P1000302
    P1000300
    P1000307
    P1000308
    P1000305
    P1000310
    P1000306
    P1000304
    P1000314
    P1000316
    P1000318
    P1000320
    P1000322
    P1000323
    P1000325
    P1000328
    P1000332
    P1000335
    P1000337
  • ห้องโครงงาน

    ห้องสำหรับทำโครงงานนักศึกษา จัดสัดส่วนพื้นที่สำหรับทำโครงงานแต่ละกลุ่ม มีเครื่องมือพื้นฐานให้เบิกจากห้องสโตร์

    P1000347
    P1000345
    P1000342
    P1000340
    P1000354
    P1000355
    P1000357
    P1000358
  • ห้องประชุม

    ห้องประชุมสำหรับนักศึกษาต้องการพูดคุย และปรึกษางานกัน มี 2 ห้องประชุม มีทีวีเพื่อฉายภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์

    P1000351
    P1000349
    P1000312
    P1000311

การฝึกความพร้อมของนักศึกษาก่อนจบการศึกษา

คณะวิศวกรรมศาสตร์มีความมุ่งมั่นในการผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพจึงได้ปรับปรุงระบบการฝึกงานเดิม จากระยะเวลา 2 เดือนในภาคฤดูร้อนให้เป็น 1 ภาคการศึกษาปกติ รวมทั้งได้นำแนวทางสหกิจศึกษามาปรับปรุงใช้ในหลักสูตร