โครงงานนักศึกษา

โครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

1. โครงงานเครื่่องแยกพัสดุด้วยการประมวลผลภาพ

บทคัดย่อ

เครื่องแยกพัสดุด้วยการประมวลผลภาพ เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดสร้างเพื่อมุ่งเน้นในการศึกษา และพัฒนาการคัดแยกพัสดุด้วยการประมวลผลภาพ จากตัวอักษรบนจ่าหน้าพัสดุด้วยวิธีการประมวลผลภาพ (Image Processing)

จากการศึกษาโดยรวม เครื่องแยกพัสดุด้วยการประมวลผลภาพ นอกจากจะมีสายพานลำเลียงในการคัดแยกพัสดุในแต่ละภาควิชาแล้ว ยังมีในส่วนของวินโดว์แอปพลิเคชัน ที่จะรวมฟังก์ชันการทำงานของตัวเครื่อง และการประมวลผลรูปภาพไว้ ผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้ดูแลระบบ โดยผู้ดูแลระบบสามารถเริ่มการทำงานของตัวเครื่อง, สามารถแก้ไขปลายทางภาควิชา, สามารถเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูลพัสดุก่อนอัปโหลดข้อมูล, สามารถตรวจเช็คการทำงานของเซนเซอร์และสามารถหยุดการทำงานของตัวเครื่องได้

และยังมีในส่วนของเว็บแอปพลิเคชัน ผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้ดูแลระบบ เจ้าหน้าที่ประจำภาควิชา และผู้ใช้งานทั่วไป โดยผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขภาควิชา บัญชีผู้ใช้งานในระบบ บุคลากรและพัสดุได้ สวนของเจ้าหน้าที่ประจำภาควิชา สามารถยืนยันการรับพัสดุ ดูข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับพัสดุได้ ส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป สามารถดูได้แค่ข้อมูลพัสดุ แต่ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้

2. ระบบแนะนำสถานที่ภายในจังหวัดชลบุรี

บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เรื่องระบบแนะนำสถานที่ภายในจังหวัดชลบุรี เป็นส่วนหนึ่งของโครงงาน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และที่ พักภายในจัดชลบุรีได้เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถรู้จักกับสถานที่นั้น ๆ ภายในจังหวัดชลบุรีได้ เพื่อ อำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานได้รู้จักกับสถานที่แห่งนั้น ๆ เวลาเปิด-ปิดของสถานที่ และ อัตราค่าบริการต่าง ๆ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ภายในสถานที่แห่งนั้น ๆ การพัฒนาระบบแนะนำสถานที่ภายในจังหวัดชลบุรี ในส่วนของเว็บแอปพลิเคชันจะใช้ โปรแกรม Visual Studio Code ซึ่งเป็นภาษา PHP ในการพัฒนา และในส่วนของโมไบล์แอปพลิเค ชันจะใช้โปรแกรม android studio โดยตัวเว็ปแอปพลิเคชันและโมไบล์แอปพลิเคชันจะมีการ เชื่อมต่อฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากอุปกรณ์ที่ทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และสามารถใช้งานบนเว็บเบราว์เซอร์และในโมไบล์ได้ จากการทดลองประสิทธิภาพการทำการของระบบแนะนำสถานที่ภายในจังหวัดชลบุรี จาก การทดลองใช้งานระบบพบว่าสามารถใช้งานระบบแนะนำสถานที่ภายในจังหวัดชลบุรีได้ดังที่กล่าวมา ข้างต้นได้จริงแต่มีบางขอบเขตที่ทำงานได้ไม่สมบูรณ
3. ระบบการเลือกสาขาวิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์บนโมไบล์แอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เรื่องระบบการเลือกสาขาวิชาของคณะวิศวกรรมศาสตร์บนโมไบล์แอปพลิเคชัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มช่องทางในการเลือกสาขาและอำนวยความสะดวกในการเลือกสาขาของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์

กลไกของระบบการเลือกสาขาวิชาอาศัยการทำงานของโมไบล์แอปพลิเคชันและเว็บแอพพลิเคชัน มาเป็นสื่อในการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปเป็นทางเลือกในการเลือกสาขาวิชาของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์

จากการทดลองประสิทธิภาพการทำงานของระบบพบว่าในส่วนของการเลือกสาขานั้นสามารถทำงานได้ปกติ

4. ระบบจัดซื้อจัดจ้างพัสดุสำหรับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

บทคัดย่อ

ระบบจัดซื้อจัดจ้างพัสดุขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นเว็บแอปพลิเคชันสำหรับใช้การค้นคว้าเก็บข้อมูล และแจ้งเตือน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและการจัดการ เนื่องจากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ มีทำโครงการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับโครงการได้รับการแจ้งข้อมูลและสถานะของโครงการอย่างล่าช้า ไม่สามารถตรวจสอบการดำเนินการของโครงการและข้อมูลของโครงการได้ จึงได้จัดทำระบบโดยมีผู้ใช้งาน 5 ระบบดับ ผู้ดูแลระบบ กองพัสดุ ผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการสำนัก และ พนักงานหรือลูกจ้าง ซึ่ง ผู้ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลได้แก่ กองพัสดุ และ ผู้ดูระบบจัดทำเป็นฐานข้อมูล หลักการทำงาน หลังจากการเพิ่มข้อมูลโครงการ จะทำการเพิ่มประเภทคณะกรรมการ และเลือกชื่อคณะกรรมการและบาทหน้าที่ หลัง จากนั้นทำการ เพิ่มกิจกรรม ระบบทำการแจ้งเตือนทางอีเมล ไปถึงผู้เกี่ยวข้อง จากการเลือกประเภทคณะกรรมการ

ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงพัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างพัสดุขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นมาประกอบด้วย การเก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ติดตามสถานะโครงการ การค้นคว้า การนำเอกเอกสารโครงการ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามขอบเขตของงาน จากการประเมินความพึ่งพอใจของผู้ใช้งาน มีผลประเมินดังนี้ ด้านความง่ายต่อการใช้งานเว็บแอพพลิเคชั่นมีค่า ¯x = 5.20 และค่า S.D. = 1.39 มีความพึ่งพอจะดับมาก และในด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงานมีค่า ¯x = 5.20 และค่า S.D. = 1.20 มีความพึ่งพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งแสดงว่าระบบมีความสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

5. ระบบจัดการหอพักออนไลน์

บทคัดย่อ

ระบบจัดการหอพักออนไลน์ จัดทำขึ้นเพื่อให้ใช้งานเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้เช่าอาศัย เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทในชีวิตมากขึ้น เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ต เป็นต้น ทำให้ความสะดวกสบายจึงเป็นสิ่งที่อยู่กับมนุษย์ในปัจจุบัน โดยโครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้เช่าอาศัย และผู้ประกอบการหอพักติดต่อกันได้สะดวกมากขึ้น ในรูปแบบโมไบล์ แอปพลิเคชัน และเว็บแอปพลิเคชัน โดยที่โมไบล์แอปพลิเคชันอยู่ในรูปแบบการใช้งานบนสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ผู้ใช้งานสามารถใช้แอปพลิเคชันนี้เป็นสื่อการติดต่อกันระหว่างผู้ใช้งาน และผู้ประกอบการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยในแอปพลิเคชันจะมี การแชทติดต่อนิติบุคคล การแจ้งซ่อม การจ่ายบิล หรือการจองส่วนกลาง เป็นต้น

จากการทดสอบ และประเมินผลการใช้งานแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นพบว่าสามารถใช้งานได้ดี และผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมากและปานกลาง เพราะแอปพลิเคชันมีรูปแบบการใช้งานที่เข้าใจง่าย และการออกแบบสีไม่ฉูดฉาด มองง่าย

6. แอปพลิเคชันระบุสายพันธุ์กระบองเพชรด้วยการประมวลผลภาพ

บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เรื่องแอปพลิเคชันระบุสายพันธุ์กระบองเพชรด้วยการประมวลผลภาพ เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดท าขึ้นเพื่อสามารถตรวจสอบชนิดสายพันธุ์ต้น กระบองเพชรด้วยการประมวลผลภาพ โดยสามารถระบุสายพันธุ์กระบองเพชรได้ มีวิธีการดูแลอย่างไร เพื่อเป็นเครื่องมือในการอ านวยความสะดวกกับผู้ที่ก าลังเริ่มต้นปลูกกระบองเพชร ให้ได้รับ ข้อมูลที่จ าเป็นส าหรับการดูแลต้นกระบองเพชรอย่างเหมาะสม และยังเป็นการส่งเสริมให้บุคคลทั่วไปเข้ามาสนใจการปลูกต้นกระบองเพชรอีกด้วย จากการทดสอบการจ าแนกสายพันธุ์ กระบองเพชร โดยแบ่งเป็น 2 ตะกลู ได้แก่ Mammillaria และ Gymnocalycium สายพันธุ์ละ 5 ชนิด รวมทั้งหมด 10 ชนิด มีความแม่นย าคิดเป็นค่าเฉลี่ยโดยรวมทั้ง 10 class คือ 77% ใน ส่วนของเว็บแอปพลิเคชันผู้ดูแลระบบสามารถจัดการข้อมูลของสายพันธุ์กระบองเพชร และดูรูปภาพที่อัปโหลดจากผู้ใช้งานแอปพลิเคชันได้ แสดงรายละเอียดข้อมูลของสายพันธุ์กระบองเพชรให้ ผู้ใช้งานทั่วไปศึกษาได้

7. แบบฟอร์มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เรื่องแบบฟอร์มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันและโมบายแอปพลิเคชันให้สามารถจัดการการใช้งานและช่วยความสะดวกให้กับอาจารย์ เจ้าหน้าที่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และได้ดำเนินการจัดการเรื่องยื่นแบบฟอร์มเอกสารให้มีประสิทธิภาพ

แบบฟอร์มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะแบ่งผู้มีส่วนร่วมกับเอกสาร โดยจะมีในส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป และผู้มีสิทธิ์อนุมัติเอกสาร ตามฐานข้อมูลเพื่อให้แบบฟอร์มเอกสารที่ผู้ใช้งานทั่วไปจัดทำขึ้นสามารถส่งไปให้ผู้มีสิทธิอนุมัติ

จากการทดลองประสิทธิภาพการทำงานของแบบฟอร์มเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะพบว่าเอกสารแบบฟอร์มที่ผู้ใช้งาน สร้างขึ้นสามารถส่งไปให้ผู้มีสิทธิอนุมัติตามความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล ผู้มีสิทธิในเอกสารแบบฟอร์มสามารถลงนามลายเซ็นแสดงความคิดเห็นในเอกสารแบบฟอร์มที่ส่งไปได้ สามารถตรวจสอบสถานะ ดูประวัติของเอกสาร ค้นหาเอกสาร รวมถึงตรวจลายเซ็นจากเอกสารแบบฟอร์มทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับตนเองเพื่อดูความถูกต้องของเอกสารได้

8. ระบบบันทึกและประเมินผลการปฏิบัติราชการของอาจารย์

บทคัดย่อ

ปริญญานิพนธ์เล่มนี้เป็นการนำเสนอ “ระบบบันทึกและประเมินผลการปฏิบัติราชการของอาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล-ธัญบุรี” เนื่องจากในปัจจุบันการประเมินบุคลากร มหาวิทยาลัยมีการออกระเบียบการประเมินที่ระบุว่าจะต้องประเมินอะไรบ้าง แต่ปัญหาที่พบคือ บุคลากรมีความเข้าใจในรายละเอียดของระเบียบแตกต่างกัน ส่งผลให้คะแนนประเมินคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และการรวบรวมเอกสารพบว่า การส่งข้อมูลและหลักฐานนั้นเป็นเอกสารกระดาษ จึงเกิดความสิ้นเปลืองทรัพยากรกระดาษ ความเสี่ยงในการสูญหาย และความไม่สะดวกในการตรวจสอบข้อมูล เปรียบเทียบและประเมินผลการปฏิบัติงาน หากต้องการดูผลการประเมินหรือผลการปฏิบัติงานในอดีต ก็เป็นไปได้ยากหากไม่ได้สำเนาเอกสารและเก็บไว้อย่างดี

จากปัญหา ทางคณะผู้จัดทำจึงได้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อบันทึกและประเมินผลการปฏิบัติงานของอาจารย์ภาควิชา โดยอ้างอิงระเบียบการประเมินจากประกาศสภา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง เกณฑ์ภาระงานขั้นต่ำของคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พ.ศ. 2559 และคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ (เชิงคุณภาพ) ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (สายวิชาการ) ซึ่งจะช่วยให้ผลการประเมินบุคลากรสอดคล้องกับระเบียบการประเมิน ลดความสิ้นเปลืองของทรัพยากรกระดาษ ลดความเสี่ยงที่จะสูญหาย การเรียกดูผลการประเมินและผลการ ฏิบัติงานที่ผ่านมาทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และผลการทดสอบระบบพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้มีความสามารถตามขอบเขตที่กำหนดไว้ และผู้เยี่ยมชมพอใจในความสวยงาม ความสะดวกในการใช้งาน และความพึงพอใจในภาพรวมของระบบอยู่ใน ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.00 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.00)

9. ระบบยืมคืนอุปกรณ์สำหรับภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

ระบบยืมคืนอุปกรณ์สำหรับภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดทำเพื่อใช้งานในด้านการลดขั้นตอนการยืมคืนอุปกรณ์ เนื่องจากในปัจจุบันการยืมอุปกรณ์ของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์นั้น การยืมอุปกรณ์ต้องมีการเขียนรายละเอียดลงบนฟอร์มเอกสารทั้งชื่ออุปกรณ์ จำนวนวันเวลาในการคืนอาจารย์ที่ปรึกษา ลายเซ็นยืมและลายเซ็นเจ้าหน้าที่จึงรับอุปกรณ์ไปทดลองได้และขั้นตอนการคืนการต้องหาฟอร์มที่มีลายเซ็นของนักศึกษาให้เจอถึงคืนได้ ซึ่งในส่วนนี้มีความไม่สะดวกต่อการใช้งานเพราะต้องค้นหาเอกสารที่มีการยืม และในบางครั้งมีนักศึกษาส่วนหนึ่งไม่ได้คืนตามเวลาที่กำหนดทำให้ต้องเสียค่าปรับ

ทางเราจึงได้คิดสร้างเว็บแอปพลิเคชันสำหรับยืมคืนอุปกรณ์ เพื่อที่ลดขั้นตอนลงมาโดยการยืมอุปกรณ์ก็ไม่จำเป็นที่ต้องเขียนลงกระดาษสามารถขอยืมผ่านเว็บได้โดยที่พี่เจ้าหน้าที่จะนำเข้าข้อมูล ว่านักศึกษาต้องการยืมอะไรคืนวันไหนและอาจารย์ที่ปรึกษาท่านไหนเป็นผู้ให้มายืม โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ใน database และส่งการแจ้งเตือนไปยังผู้ขอยืมได้

10. แอปพลิเคชันสำหรับฝึกสมอง

บทคัดย่อ

โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาสมองในกลุ่มบุคคลทั่วไปทำให้ผู้ใช้งานลดภาวะเสี่ยงโรคสมองเสื่อม และช่วยเหลือบุคคลที่ประสบปัญหาสุขภาพจากภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของการทํางานของสมองที่ทําให้เกิดความเสื่อมถอยของความสามารถด้านการรู้คิดอย่างต่อเนื่องจากระดับปกติที่เคยเป็นอยู่ ซึ่งสภาวะนี้พบได้ค่อนข้างมากในคนสูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่อายุ ตั้งเเต่ 60 ปีขึ้นไป โดยอาการสมองเสื่อมในระยะแรกพบว่ามีการสูญเสียความสามารถของสมองเล็กน้อยด้านความจํา แต่ยังสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจําวันได้ และหากไม่ได้รับการบำบัดหรือรักษา อาการมักจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยอาการในระยะที่รุนแรงมาก ผู้ป่วยจะสูญเสียความจําอย่างมาก สับสน ไม่รับรู้เวลา สถานที่ บุคคล ไม่สามารถคิด และตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ไม่พูดหรือพูดไม่รู้เรื่อง กิจวัตรประจําวันบกพร่องและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จากปัญหาที่กล่าวมา ทางคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในสร้างแอปพลิเคชันมือถือสำหรับฝึกสมอง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดความเสี่ยงสภาวะโรคสมองเสื่อมให้กับบุคคลทั่วไป เพื่อส่งเสริม การพัฒนาสมองด้านความจำและปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างบุคคล จากการทดสอบระบบและประเมินผลการใช้งานโดยนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จำนวน 20 คน ได้พบว่าระบบสามารถใช้งานได้จริง มีความสะดวกต่อการใช้งาน ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.1)